Register LOGIN Forget password ?
:: Special Scoops :: DUCATI HYPERMOTARD
Guest View : 57,921/ Last update : 18/08/2008
 

สัมผัส DUCATI HYPERMOTARD ความเห็นที่ได้จากการขับขี่  ข้อมูลทางเทคนิค
https://vegus111.com
สัมผัส DUCATI HYPERMOTARD

มาลองดูกันครับ สำหรับรถสไตล์ใหม่จากค่ายรถแรงสัญชาติอิตาลี ซึ่งครองตำแหน่งโมเดลที่ขายดีที่สุดในเมืองไทยขณะนี้

ดูภาพขนาดเต็ม
พูดถึง DUCATI Hypermotard หลายคนคงต้องนึกถึงรถที่ต้องขี่แล้วสามารถ " ซ่า" ได้นอกเหนือกฎเกณฑ์การขับขี่แบบเดิมๆ
ดูภาพขนาดเต็ม
ภาพสเก็ตช์ที่ Mr. Pierre Terblanche แอบแพลมว่า แนวความคิดของ Hypermotard ดึงเอาสเน่ห์ที่มีในรูปทรงของ 999 มาปรับปรับใช้ ในรูปทรงที่แตกต่าง แต่ยังให้ "กลิ่น" งานดีไซน์ที่ไม่แตกต่างจากต้นแบบความคิดอย่าง 999 มากนัก
   
ดูภาพขนาดเต็ม ดูภาพขนาดเต็ม
รูปทรงชิ้นส่วนที่มีทรวดทรงเจือปนไปด้วยความแหลม โดยใช้เส้นนำสายตาบนชิ้นงานที่ทำให้องค์ประกอบโดยรวม ฉีกภาพลักษณ์ที่ทุกคนเคยคุ้นเคย เหมือนอย่างที่เคยช๊อคทุกคนใน 999 มาแล้ว จากภาพสเก็ตช์บนกระดาษ สู่การจำลองทุกอย่างในหัวสมองสู่งานสามมิติ ที่สามารถสร้างสิ่งทุกสิ่งในไอเดียของผู้ออกแบบออกมาเป็นชิ้นงาน ให้ง่ายต่อการสัมผัสของผู้ชม
ดูภาพขนาดเต็ม ดูภาพขนาดเต็ม
แต่งองค์ทรงเครื่องด้วยชุดพลาสติค ที่นำไปสู่ Production Line ก่อนกลายเป็นตัวรถจริงสู่ท้องตลาด ชุดแรกที่วางตลาดในปี 2007 ทั้งสองเวอร์ชั่นจะมีแต่รถสีแดง แต่ในปี 2008 ได้เพิ่มสีดำขึ้นมาอีกหนึ่งสีในเวอร์ชั่น S
ดูภาพขนาดเต็ม ดูภาพขนาดเต็ม
Hypermotard เวอร์ชั่นธรรมดาแบบเต็มๆคันด้านข้าง Hypermotard S ที่เปลี่ยนแปลงในรายละเอียดของชิ้นส่วนหลายอย่างบนตัวรถ แตกต่างไปจากเวอร์ชั่นธรรมดา
ดูภาพขนาดเต็ม ดูภาพขนาดเต็ม
เปลือยถังน้ำมันและชุดพลาสติคออก เพื่อให้เห็นการวางโครงสร้างตัวรถและเครื่องยนต์ เอกลักษณ์ในแง่ของการใช้งาน ของการใช้เฟรมทรงถัก ยึดเครื่องยนต์ห้อยอยู่ด้านล่าง ก็คือการใช้ความแข็งแรงของตัวเครื่องยนต์ เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างความแข็งแรงของตัวรถ ซึ่งช่วยให้สามารถลดน้ำหนักของเฟรมที่จะต้องใช้ทั้งหมดลงไปได้ไม่น้อย
ดูภาพขนาดเต็ม ดูภาพขนาดเต็ม
ชุดไฟเลี้ยวแบบ LED. ที่ฝังอยู่ด้านหน้าของการ์ดแฮนด์ทั้งสองข้าง ให้แสงสัญญานที่สว่างสะใจ ในระดับความสูงที่รถวิ่งสวนมาต้องมองเห็น ปลายแฮนเดิ้ลบาร์ทั้งสองข้างยังติดตั้งกระจกมองหลังแบบพับขนานไปกับตัวรถได้ ส่งผลให้ไม่ต้องเกะกะเรื่องโครงกระจกเหมือนรถรุ่นอื่น
ดูภาพขนาดเต็ม
สวิงอาร์มแขนเดี่ยวอันแข็งแรงที่รองรับแรงกระชากจากพลังของเครื่องยนต์ให้การขับขี่เป็นไปอย่างสมดุลย์ แต่สวยงามและ " เท่"
ดูภาพขนาดเต็ม ดูภาพขนาดเต็ม
เครื่องยนต์ Desmopower แบบแคมชาร์พเดี่ยว 2 วาล์ว/สูบ ปรับขนาดเพิ่มเป็น 1078 ซีซี เสียบหัวเทียนสองหัวต่อสูบเพื่อใช้ในการจุดระเบิด และใช้ระบบคลัทช์แห้งในการตัดต่อกำลัง ครีบเครื่องยนต์ที่ช่วยระบายความร้อนขณะทำงาน ไม่มีระบบระบายความร้อนด้วยน้ำที่ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นมาโดยไม่จำเป็น
ดูภาพขนาดเต็ม ดูภาพขนาดเต็ม
จอแสดงผลที่รวมเอาฟังก์ชั่นทุกอย่างในการใช้งานมาไว้ในพื้นที่ขนาดกระทัดรัด จนบางครั้งแทบมองไม่เห็นในขณะขับขี่ ทรวดทรงของชุดพลาสติตปิดข้างถังน้ำมันที่เหลมเรียว สอดรับกับดีไซน์ของบังโคลนและไฟหน้าที่แหลมโฉบเฉี่ยว
ดูภาพขนาดเต็ม ดูภาพขนาดเต็ม
รถทดสอบสองคันที่เราใช้ทดลองขี่กันในครั้งนี้ ซึ่งคันซ้ายคือเวอร์ชั่นธรรมดา แต่คันขวาคือเวอร์ชั่น S ที่ยัดของแต่งเสริมหล่อและเพิ่มพลังมาพอประมาณ และเป็นปี 2008 ทั้งสองคัน มิติของตัวรถทั้งสองเวอร์ชั่นไม่แตกต่าง แต่รายละเอียดบนตัวรถที่ส่งผลต่อการขับขี่ ห่างชั้นกันพอสมควร
ดูภาพขนาดเต็ม ดูภาพขนาดเต็ม
ช๊อคอัพหลังของเวอร์ชั่น S ให้ Ohlins สีทองสุกอร่าม เด่นตาตัดกับสีดำทมึนของเฟรมได้ดีทีเดียว เวอร์ชั่นธรรมดาใช้บริการของ Sachs สปริงสีเหลืองดูไม่ขี้เหร่เท่าไหร่ แต่ประสิทธิภาพต่างกันอย่างเด่นชัด
ดูภาพขนาดเต็ม ดูภาพขนาดเต็ม
ยางที่ให้ติดรถในเวอร์ชั่นธรรมดาจะเป็น Bridgestone BT014 แต่ของเวอร์ชั่น S ให้ของดีอย่าง Pirelli Diablo Supercorsa III ถังน้ำมันขนาดเล็กยังคงใช้ฝาปิดล๊อคแบบหมุนเกลียว พิกัดความจุ 12.4 ลิตร เพียงพอสำหรับวิ่งในรัศมีใกล้ๆ ไม่เกิน 130 กม. เท่านั้น
ดูภาพขนาดเต็ม ดูภาพขนาดเต็ม
ปลายท่อไอเสียลอดใต้ซับเฟรมที่ดูเด่นเป็นเอกลักษณ์ โดยในเวอร์ชั่น S ที่ทดสอบนี้ มาพร้อมท่อสูตรคู่บารมีค่าย DUCATI ด้วยแบรนด์ Termignoni และกล่องไฟเปลี่ยนแปลงส่วนผสม เพิ่มความแรงที่สัมพันธ์กับท่อ ท่อเดิมให้เสียงที่นุ่ม ทุ้มโสตประสาทการรับฟัง แต่มันก็ยังถือว่าเสียงดัง ถ้าจะเอาไปเปรียบกับท่อรถญี่ปุ่นแบบเดิมๆ โรงงาน
ดูภาพขนาดเต็ม ดูภาพขนาดเต็ม
คาลิเปอร์เบรคหน้าของเวอร์ชั่น S ที่เป็นเรเดียลเม้าท์ Monobloc ซึ่ง "ดีที่สุด" สำหรับติดรถมาให้จากโรงงาน เวอร์ชั่นธรรมดาใช้แบบเรเดียลเม้าท์ธรรมดา ที่มีประสิทธิภาพการหยุดได้ดี แทบไม่มีที่ติ

ขึ้นชื่อว่ารถจักรยานยนต์แบรนด์ DUCATI ย่อมเป็นที่รู้จักกันดีของคนขี่รถจักรยานยนต์ซุปเปอร์ไบค์ทั่วโลก ซึ่งมีอดีตที่สะสมความประทับใจให้กับนักเล่นรถรุ่นลายคราม จนมีหลายรุ่นที่เข้าทำเนียบรถคลาสสิคตลอดกาล แต่ชื่อเสียงของแบรนด์นี้มาเงียบหายไปในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ด้วยปัญหาเรื่องการบริหารและปัญหาด้านเศรษฐกิจของบริษัทแม่ที่อยู่ในอิตาลี แต่หลังจากที่ปัญหาทุกอย่างได้รับการแก้ไข การพัฒนาค้นคว้าและออกแบบผลิตภัณฑ์ได้รับการรื้อแนวความคิด และเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายลูกค้าที่ชัดเจน พุ่งตรงไปที่ความทันสมัย ดีไซน์ที่เป็นที่สุด เพียบพร้อมด้วยเทคโนโลยีที่เป็นเอกลักษณ์ กระทั่งสามารถกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง และพุ่งถึงจุดสูงสุด จนเป็นที่รู้จักของนักเล่นรถยุคใหม่อีกครั้งในช่วงปี 2007 ที่ DUCATI สามารถคว้าชัยชนะในการแข่งขัน MotoGP แบบหักปากกาเซียนด้วยสถิติที่ค่ายรถอื่นๆที่ทำรถลงแข่งมาก่อนหลายปีแทบจะต้องแทรกแผ่นดินหนี โดยฝีมือของเคซี่ สโตนเนอร์ บนเทคโนโลยี Desmopower ที่หลายคนอาจไม่คุ้นเคย แต่มันคือเอกลักษณ์ของ DUCATI ที่ใช้ในเครื่องยนต์แบรนด์นี้มาอย่างยาวนาน

ความนิยมในแบรนด์ DUCATI กับรถโปรดัคชั่นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา นักเล่นรถส่วนใหญ่มักจะรู้จักแบรนด์นี้ในแง่ของรถสปอร์ทเรพลิก้าที่ออกแบบมาได้โฉบเฉี่ยว มีสไตล์งานดีไซน์ที่ยึดถือแนวทางของตัวเอง และยังเป็นต้นแบบของการดีไซน์เฟรมหลักของตัวรถที่ใช้โลหะท่อกลมถักไขว้ และท่อไอเสียออกใต้ไฟท้าย ซึ่งรถใหม่ของทุกค่ายยักษ์ทำตามกันออกมาถ้วนทั่วกันในเวลาต่อมา แต่มันคือดีไซน์ที่ DUCATI ใช้มาตั้งแต่รุ่น 916 ในปี 1994 ซึ่งดีไซน์แบบสปอร์ทเรพลิก้าที่เน้นการใช้งานในสนามซ้อมหรือสนามแข่งขัน ซึ่งเป็นภาพลักษณ์ของ DUCATI ได้กลายมาเป็นจุดบอดที่ทำให้นักเล่นรถส่วนหนึ่งที่ต้องการสัมผัสรถแบรนด์นี้ในรูปแบบของการใช้งานเอนกประสงค์มากกว่านั้น DUCATI จึงเริ่มปล่อยโมเดลที่แตกต่างจากความคุ้นเคยของคนทั่วไปออกมาตัวแรกในชื่อ Multistrada ซึ่งดีไซน์ให้เป็นรถเอนกประสงค์ ครอบคลุมการใช้งานบนถนนเพื่อการเดินทางท่องเที่ยว ในระยะทางไกลๆ โดยไม่ทำร้ายกระดูกสันหลังผู้ขับขี่เหมือนโมเดลอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น 916 996 998 1098 หรือแม้กระทั่งรถที่พยายามออกแบบมาให้เป็นรถทัวริ่งอย่าง ST2 และ ST4 ก็ตาม

จาก Multistrada ที่ยังไม่ถือว่า "สุด" และยังไม่โดนใจนักเล่นรถจิตใจวัยห้าวหาญบางกลุ่ม จนทาง DUCATI ได้ริเริ่มการออกแบบรถแนวใหม่ของค่าย ตามเทรนด์ที่เริ่มได้รับความนิยมของนักเล่นรถในยุโรปช่วงปี 2004-2005 ซึ่งก็คือรถสไตล์ Super Motard หรือ Super Moto ที่มีจุดเด่นเรื่องของพละกำลังที่ "ขึ้นเร็ว" อาศัยความว่องไวในการขยับเท้าสับเกียร์ สไตล์รถสปอร์ตแรงสูง วางบนโครงรถที่ยืดระบบช่วงล่างให้สูงจากพื้นมากกว่ารถสปอร์ท แต่ไม่สูงเหมือนรถ Enduro แท้ๆ ซึ่งมันก็อาจเรียกได้ว่า "รถลูกครึ่ง" ที่ได้รับความสนใจจากนักเล่นรถที่ต้องการรถที่เบา ขี่สบาย แต่ "จี๊ด" ได้ไม่อายใคร โดยขีดวงจำกัดการใช้งานของ Hypermotard 1100 ให้อยู่ในลักษณะของรถที่เน้นให้ขี่สนุก ขี่เล่น แต่ไม่ได้ขี่บนเส้นทางยาวไกลในลักษณะทัวริ่ง ทุกสิ่งบนตัวรถ Hypermotard 1100 จึงตอบโจทย์ความเอนกประสงค์ของการใช้งานได้แคบลงจนกลายเป็นความชัดเจน และมันก็ทำให้ตรงจุดของกลุ่มนักเล่นรถที่ต้องการรถในแนวทางที่ชอบปรี๊ดกันอยู่ในเมืองหรือระยะทางที่ไม่ไกลจากปั๊มน้ำมันมากนัก

ผลงานการออกแบบ Hypermotard 1100 โดยฝีมือของ Mr. Pierre Terblanche ซึ่งเป็นดีไซน์เนอร์ผู้ชุบชีวิตให้แบรนด์นี้ช๊อควงการอีกครั้งด้วยแนวความคิดของการสร้าง Hypermotard ให้เป็น Extreme Street fighter ที่โลดแล่นบนท้องถนนด้วยประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ และรูปลักษณ์ที่ถือเป็นแนวลัทธิใหม่ในการออกแบบ ซึ่งรถต้นแบบของ Hypermotard ได้ออกสู่สาธารณะชนในฤดูใบไม้ผลิ ปี 2005 โดยที่ Mr. Pierre Terblanche กล้าให้สัมภาษณ์ต่อสื่อว่า Hypermotard คือรถที่โชว์ความเป็น DUCATI Style ที่จะโลดแล่นต่อไปในวันข้างหน้าด้วยแนวทางที่ชัดเจนในตัวเอง โดยที่แผนการทำตลาดของ DUCATI ที่กลายเป็นจุดเด่นอีกประการหนึ่งที่ส่งผลต่อการออกแบบตัวรถและเครื่องยนต์ ก็คือการแบ่งซอย Performance ของรถรุ่นเดียวกันออกเป็นรุ่นย่อย ตามระดับของอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่บนตัวรถ และ Hypermotard เองก็อยู่ให้แนวทางนั้น ด้วยการคลอด 2 เวอร์ชั่น คือ Hypermotard 1100 ตัวธรรมดา และ Hypermotard 1100S ซึ่งทั้งสองเวอร์ชั่นจะมีโครงสร้างหลักและเครื่องยนต์ที่สร้างขุมพลัง "เหมือนกัน" แต่ "แตกต่าง" กันที่อุปกรณ์ประกอบบนตัวรถ ที่ทำให้ Hypermotard 1100S ต่างกันกับตัวธรรมดาในขณะขับขี่อย่างรู้สึกได้ชัดเจน

ระบบเบรคที่ถือเป็นภาพลักษณ์อย่างหนึ่งของค่าย DUCATI ซึ่งใช้สัมปทานของบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์เบรคสัญชาติอิตาลี บ้านเกิดเดียวกันกับแบรนด์ DUCATI มาอย่างยาวนาน ก็ยังคงใช้บริการของ Brembo ติดตั้งลงใน Hypermotard ทั้งสองเวอร์ชั่น แต่จะแตกต่างกันที่ ตัว Hypermotard ธรรมดาจะใช้เบรคหน้าแบบเรเดียลเม้าท์ธรรมดา สี่ลูกสูบ/ชุด แต่ของ Hypermotard S จะใช้เรเดียลเม้าท์แบบ Monobloc (คาลิเปอร์ทั้งลูกทำจากโลหะชิ้นเดียว ไร้รอยต่อของชิ้นส่วน) สี่ลูกสูบ/ชุด ซึ่งถือว่าเป็นชุดเบรคที่ติดตั้งในรถถนน ที่ดีที่สุดในโลกปัจจุบัน ส่งผลให้ประสิทธิภาพการเบรคไม่ต่างไปกับการขี่รถพุ่งเข้าชนตึกขนาดยักษ์เท่าไหร่นัก

ระบบกันสะเทือน และช่วงล่างที่ทำให้ Hypermotard แลดู "เท่" แตกต่างไปจากรถรุ่นอื่นคงหนีไม่พ้นชุดสวิงอาร์มหลังซึ่งเหมือนกันทั้งสองเวอร์ชั่น ที่ใช้แบบแขนเดี่ยว พาดจากฝั่งซ้ายของเครื่องยนต์ไปสิ้นสุดที่แกนกลางดุมล้อหลัง ทำให้ตัวรถด้านขวาแลดูโปร่งโล่ง ส่งผลต่อการขับประกายความสวยงามของการเลือกใช้ล้อแบบ 10 ก้านของค่าย Marchesini โดยที่ตัว Hypermotard ธรรมดาจะใช้ล้ออลูมิเนียมอัลลอยล์หล่อแบบกรรมวิธีธรรมดา ซึ่งจะมีขนาดของแกนโครงกิ่งรับน้ำหนักขนาดใหญ่กว่า Hypermotard S ซึ่งใช้อลูมิเนียมขึ้นรูปด้วยกรรมวิธีการฉีด (Forged) ซึ่งส่งผลให้สามารถใช้ขนาดของก้านกิ่งรับแรงได้เล็กกว่า แต่มีน้ำหนักเบากว่าแบบหล่อธรรมดา รวมไปถึงความแข็งแรงที่มากกว่า อันเกิดจากการโมเลกุลของกรรมวิธีการผลิตแบบฉีดที่หนาแน่นกว่านั่นเอง ส่วนระบบช๊อคอัพรับแรงสะเทือน ช่วงหน้าของทั้งสองตัวจะใช้แบบหัวกลับของ Marzocchi ขนาด 50 มม. ต่างกันตรงที่ Hypermotard S เคลือบผิวแกนสีดำขรึมขลังด้วยเทคโนโลยี DLC. (Diamond Like Carbon) และบริเวณหัวช็อคดูสวยงามกว่า แต่ทั้งสองเวอร์ชั่นสามารถปรับตั้งได้ครบทุกฟังก์ชั่นเช่นเดียวกัน ส่วนช๊อคอัพหลัง จะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะ Hypermotard ตัวธรรมดาจะใช้บริการของค่าย Sachs แต่ตัว Hypermotard S ใช้สัมปทาน Onlins สีทองอร่าม และสามารถปรับตั้งได้ครบทุกฟังก์ชั่นเช่นเดียวกันทั้งสองเวอร์ชั่น นอกจากนี้ยังมีความแตกต่างกันอีกเล็กๆ น้อยๆ บนทั้งสองเวอร์ชั่น ก็คือการเลือกใช้ชิ้นส่วนพลาสติคของแผ่นการ์ดป้องกันแกนช๊อคอัพหน้า ชุดฝาครอบสายพานด้านขวาของเครื่องยนต์ รวมไปถึงพลาสติคครอบด้านข้างของปลายท่อไอเสีย ซึ่ง Hypermotard ตัวธรรมดาใช้พลาสติคสีดำ แต่ Hypermotard S เปลี่ยนเป็นวัสดุคาร์บอนทั้งหมด ซึ่งข้อแตกต่างที่กล่าวไปทั้งหมดทำให้ตัวรถในเวอร์ชั่น S เบาลงไปได้อีก 4.4 ปอนด์

ระบบกันสะเทือน และช่วงล่างที่ทำให้ Hypermotard แลดู "เท่" แตกต่างไปจากรถรุ่นอื่นคงหนีไม่พ้นชุดสวิงอาร์มหลังซึ่งเหมือนกันทั้งสองเวอร์ชั่น ที่ใช้แบบแขนเดี่ยว พาดจากฝั่งซ้ายของเครื่องยนต์ไปสิ้นสุดที่แกนกลางดุมล้อหลัง ทำให้ตัวรถด้านขวาแลดูโปร่งโล่ง ส่งผลต่อการขับประกายความสวยงามของการเลือกใช้ล้อแบบ 10 ก้านของค่าย Marchesini โดยที่ตัว Hypermotard ธรรมดาจะใช้ล้ออลูมิเนียมอัลลอยล์หล่อแบบกรรมวิธีธรรมดา ซึ่งจะมีขนาดของแกนโครงกิ่งรับน้ำหนักขนาดใหญ่กว่า Hypermotard S ซึ่งใช้อลูมิเนียมขึ้นรูปด้วยกรรมวิธีการฉีด (Forged) ซึ่งส่งผลให้สามารถใช้ขนาดของก้านกิ่งรับแรงได้เล็กกว่า แต่มีน้ำหนักเบากว่าแบบหล่อธรรมดา รวมไปถึงความแข็งแรงที่มากกว่า อันเกิดจากการโมเลกุลของกรรมวิธีการผลิตแบบฉีดที่หนาแน่นกว่านั่นเอง ส่วนระบบช๊อคอัพรับแรงสะเทือน ช่วงหน้าของทั้งสองตัวจะใช้แบบหัวกลับของ Marzocchi ขนาด 50 มม. ต่างกันตรงที่ Hypermotard S เคลือบผิวแกนสีดำขรึมขลังด้วยเทคโนโลยี DLC. (Diamond Like Carbon) และบริเวณหัวช็อคดูสวยงามกว่า แต่ทั้งสองเวอร์ชั่นสามารถปรับตั้งได้ครบทุกฟังก์ชั่นเช่นเดียวกัน ส่วนช๊อคอัพหลัง จะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะ Hypermotard ตัวธรรมดาจะใช้บริการของค่าย Sachs แต่ตัว Hypermotard S ใช้สัมปทาน Onlins สีทองอร่าม และสามารถปรับตั้งได้ครบทุกฟังก์ชั่นเช่นเดียวกันทั้งสองเวอร์ชั่น นอกจากนี้ยังมีความแตกต่างกันอีกเล็กๆ น้อยๆ บนทั้งสองเวอร์ชั่น ก็คือการเลือกใช้ชิ้นส่วนพลาสติคของแผ่นการ์ดป้องกันแกนช๊อคอัพหน้า ชุดฝาครอบสายพานด้านขวาของเครื่องยนต์ รวมไปถึงพลาสติคครอบด้านข้างของปลายท่อไอเสีย ซึ่ง Hypermotard ตัวธรรมดาใช้พลาสติคสีดำ แต่ Hypermotard S เปลี่ยนเป็นวัสดุคาร์บอนทั้งหมด ซึ่งข้อแตกต่างที่กล่าวไปทั้งหมดทำให้ตัวรถในเวอร์ชั่น S เบาลงไปได้อีก 4.4 ปอนด์

ระบบอิเลคโทรนิคส์บนตัวรถ ที่ใช้นอกเหนือจากการการควบคุมการจุดระเบิดและการป้อนน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าห้องเผาไหม้ด้วยระบบหัวฉีดแล้ว ยังมีฟังก์ชั่นพิเศษที่ติดตั้งมาให้คือ ช่องเสียบต่ออุปกรณ์บันทึกการทำงานและประมวลผลการขับขี่ หรือที่เรียกว่าระบบ DDA. (Ducati Data Analyser) เป็นตัวเดียวกับที่มีอยู่ใน 1098 และการแสดงผลสารพัดฟังก์ชั่นผ่านบนตัวรถ จะแสดงที่หน้าจอดิสเพลย์ที่ไม่มีปุ่มกดใช้งานใดๆ ซึ่งอยู่ด้านหน้าของรถ แต่สามารถควบคุมโดยใช้ปุ่มกดเดียวกับปุ่มกำหนดการใช้งานระบบไฟสัญญานฝั่งแฮนเดิ้ลบาร์ข้างซ้ายนั่นเอง ซึ่งนับเป็นความชาญฉลาดของการออกแบบที่ลดความเกะกะรกสายตา ตามคอนเซ็ปต์ของ Hypermotard ที่ต้องทำให้ทุกอย่างง่าย กระทัดรัด และพิเศษ

อุปกรณ์หลักบนตัวรถที่ได้รับการรื้อและออกแบบใหม่จากต้นแบบอย่าง Multistrada ในคอนเซ็ปต์ของ Hypermotard จนกลายเป็นจุดปะทะสายตาคงหนีไม่พ้นรูปทรงของถังน้ำมันที่หั่นความจุลงเหลือแค่ 12.4 ลิตร ประกบข้างด้วยพลาสติคทรงหัวลูกศรที่ทำให้ตัวรถดูแหลมคม สอดรับกับชุดบังโคลนหน้าแหลมเรียวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับชุดโคมไฟหน้าขนาดเล็กกระทัดรัดซึ่งด้านบนวางชุดจอแสดงผลการทำงานขนาดจิ้มลิ้มรูปทรงห้าเหลี่ยมอยู่ข้างหน้าของแผงคอที่ "หัก"องศาความชันแค่ 24องศา เท่ากับ Multistrada แต่เบาะนั่งเตี้ยกว่า Multistrada แค่ 0.2 นิ้ว แฮนเดิ้ลบาร์ทรงต่ำ ระดับเดียวกับจอแสดงผลด้านหน้าเป็นที่ติดตั้งของการ์ดแฮนด์สีดำทมึน ที่ออกแบบให้ฝังชุดไฟเลี้ยว LED.บนรูปทรงที่แลดูเพรียวบาง สิ้นสุดจุดนำสายตาด้านข้างด้วยกระจกส่องหลังทรงปลายลูกศรที่หมุนพับปรับองศาได้ ติดตั้งอยู่ด้านปลายสุดข้างปลายแฮนเดิ้ลบาร์ทั้งสอง งานออกแบบโครงสร้างโดยรวมได้ถูกทำให้สอดรับกับรูปแบบของเบาะทรงเรียวเล็กจรดปลายด้านหลัง ที่ตั้งของชุดพลาสติคยกระดับทรงสปอยล์เลอร์ ซึ่งเป็นที่อยู่ของชุดไฟท้ายสว่างแสบตาด้วยหลอด LED. มีท่อไอเสียวางลดหลั่นลอดใต้ซับเฟรมด้วยปลายท่อแบบคู่ ยื่นยาวออกเลยตัวรถ ยึดติดโครงพลาสติคไว้สำหรับติดตั้งไฟเลี้ยวและแผ่นป้ายทะเบียนเลยระยะของล้อหลังไม่มากนัก ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้บนตัวรถได้ส่งผลให้ Hypermotard ได้ "ทะยาน"ตัวเองขึ้นมาอยู่แถวหน้าของงานดีไซน์ที่เพรียวบาง แต่ทรงพลัง จนโดดเด่นเป็นสง่าฉีกขาดจากคู่แข่งในตลาดที่วางไว้อย่าง KTM 950 SM, Buell SuperTT หรือแม้กระทั่งยักษ์ใหญ่อย่าง BMW HP2 Megamoto ได้อย่างชัดเจน

ดูภาพขนาดเต็ม ดูภาพขนาดเต็ม ดูภาพขนาดเต็ม
ของเล่นเล็กๆ น้อยที่เจ้าของรถใส่เพิ่มลงไปในเวอร์ชั่น S ก็คือฝาปิดชุดคลัทช์แบบเปลือย ทำให้เห็นสีแดงแสบตาของชุดคิทของระบบคลัทช์ที่อยู่ด้านใน และส่งผลให้มันเปล่งเสียงสนั่น ทุกครั้งที่เครื่องทำงาน และชุดฝาครอบสายพานฝาสูบที่เป็นคาร์บอนแท้ๆ จากโรงงาน พักเท้าคนซ้อนทำมาให้พร้อมที่จะถอดสลัดทิ้งไว้ให้ภรรยาดูต่างหน้าที่บ้าน ว่าไม่ได้เอาไปรับสาวที่ไหน Detail_29มมองด้านบนในขณะขับขี่ เห็นได้ชัดว่าทาง DUCATI จงใจออกแบบให้ทุกอย่างโล่ง ไม่เกะกะสายตาด้วยชิ้นส่วนที่ไม่จำเป็น มุมองด้านบนในขณะขับขี่ เห็นได้ชัดว่าทาง DUCATI จงใจออกแบบให้ทุกอย่างโล่ง ไม่เกะกะสายตาด้วยชิ้นส่วนที่ไม่จำเป็น
ดูภาพขนาดเต็ม ดูภาพขนาดเต็ม ดูภาพขนาดเต็ม
โคมไฟหน้าเล็กกระทัดรัด ให้ความสว่างในระดับที่แสบตา ถ้าสวนมาตรงๆ กุญแจแบบฝังชิพอิเลคโทรนิคส์ด้านใน วางตำแหน่งไว้หลังแผงคอที่ออกแบบเรียบง่าย แต่แข็งแรง มาสเตอร์ปั๊มเบรคสัมปทานจาก Brembo รุ่นยอดนิยม พร้อมชุดควบคุมระบบไฟจุดระเบิดแบบเรียบง่าย และกระจกส่องหลังที่กลายเป็นสิ่งเกะกะต่อการขับขี่ในเมือง
ดูภาพขนาดเต็ม ดูภาพขนาดเต็ม ดูภาพขนาดเต็ม
ยังคงเป็น Brembo สำหรับมาสเตอร์ปั๊มคลัทช์ พร้อมชุดควมคุมไฟสัญญานที่รวมเอาการควบคุมฟังก์ชั่นบนจอดิสเพลย์ของรถเข้าไว้บนปุ่มชุดเดียวกัน คอนเซ็ปต์ Motard แต่วางตลาดในโพสิชั่น Extreme Street Fighter จากงานดีไซน์ที่ ฉีกหนีคู่แข่งได้พอสมควร มันไม่เหมาะจะเอาไปลุยถนนที่สกปรกๆนอกเมือง แต่มันเกิดมาเพื่อซ่าบนถนนสะอาดๆ ในย่านหรูหราของเมืองใหญ่ๆ
ดูภาพขนาดเต็ม

 

*****
ความลงตัวของการออกแบบ บนเครื่องยนต์ที่ทรงพลัง รองรับด้วยโครงสร้างและระบบช่วงล่างที่แข็งแรงบึกบึน
สัมผัส DUCATI HYPERMOTARD ความเห็นที่ได้จากการขับขี่ ข้อมูลทางเทคนิค
 
Privacy & Policy Statements Advertisement About StormClub.com Contact Stormclub.com